ใจเป็นใหญ่ (English version below) เนื้อเรื่อง: พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี) ………………………..
ศีลบางคนที่ว่าต้องรักษาที่กาย ที่วาจา ไม่ต้องไปรักษาที่ใจ เป็นเรื่องของสมาธิต่างหาก กาย วาจามันจะเป็นอะไร มันจะทำอะไร มันก็ไม่กระเทือนถึงสมาธิ ตกลงว่ากายกับใจแยกกันเป็นคนละอัน ตรงนี้ผู้เขียนไม่เข้าใจจริงๆ เรื่องเหล่านี้พิจารณาเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เข้าใจจริงๆ ขอแสดงความโง่ออกมาสักนิดเถอะ สมมุติว่าคนจะไปฆ่าเขา หรือขโมยของเขา จำเป็นจิตจะต้องเกิดอกุศลบาปกรรมขึ้นมา แล้วจะต้องไปซุ่มแอบ เพื่อไม่ให้เขาเห็น เมื่อได้โอกาสแล้วจะต้องลงมือฆ่า หรือขโมยของเขา ตามเจตนาของตนแต่เบื้องต้น การที่จิตคิดจะฆ่าหรือขโมยของเขาแล้วไปซุ่มอยู่นั้น ถึงแม้ศีลจะไม่ขาด แต่จิตนั้นเป็นอกุศลพร้อมแล้วทุกประการที่จะทำบาป ไม่ใช่หรือ ถ้าจิตอันนั้นมีสติ รักษาสำรวมได้ ไม่ให้กระทำ เลิกซุ่มเสีย ศีลก็จะไม่ขาด ตกลงว่าใจเป็นตัวการ ใจเป็นต้นเหตุที่จะให้ศีลแลไม่ขาด จะว่ารักษาศีลไม่ต้องรักษาใจได้อย่างไร..
ท่านว่า รักษาศีล คือรักษาที่กายวาจาใจ 3 อย่างนี้ไม่ใช่หรือ ในทางธรรมพระพุทธเจ้าก็เทศนาว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจถึงก่อน สำเร็จแล้วด้วยใจ” จะพูด จะคุยก็เกิดจากใจทั้งนั้น พูดถึงธรรมแล้ว ที่จะไม่พูดถึงเรื่องใจแล้วไม่มี คำว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน” นั้นชัดเจนเลยทีเดียว ที่ว่าธรรมทั้งหลาย นั้น หมายถึงการกระทำทุกอย่าง ทำดีเรียกว่า กุศลธรรม ทำชั่วเรียกว่า อกุศลธรรม ทำไม่ดี ไม่ชั่ว เรียกว่าอัพยากฤตธรรม เรียกย่อๆเรียกว่าทำบุญ ทำบาป หรือไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป (ข้อสุดท้ายนี้ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะไม่ทำบาป ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง) เมื่อผู้เขียนพิจารณาถึงเรื่องเหตุผลในธรรมทั้งหลายแล้ว . ที่ว่า ศีล ให้รักษาที่กายและวาจา สมาธิให้รักษาที่ใจไม่ปรากฏเห็นมี ณ ที่ใด หากผู้เขียนจำตำราที่เขียนไว้ไม่เข้าใจ หรือตีความหมายของท่านไม่ถูก เพราะความโฉดเขลาเบาปัญญาของตนเองก็สุดวิสัย พระพุทธองค์ก็ยังทรงเทศนาให้พระผู้กระสันอยากสึกว่า พระวินัยในพระศาสนานี้มีมากนักข้าพระองค์ไม่สามารถจะรักษาให้บริบูรณ์ได้ ข้าพระองค์จะสึกละ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “อย่าสึกเลย ถ้าพระวินัยมันมากนัก เธอจงรักษาเอาแต่ใจอันเดียวเถิด นี่แหละพระพุทธเจ้าได้สอนให้เอาแต่ใจอันเดียวซ้ำเป็นไรนี้ เรารักษาศีล จะทิ้งใจเสียแล้ว จะรักษาศีลได้อย่างไร ผู้เขียนมืดแปดด้านเลยจริงๆ . ฆราวาสผู้มีศรัทธาแก่กล้าจะรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ก็ได้ แต่ศีล 10 นั้นรักษาตลอดเวลาไม่ได้ ถ้าเรามีศรัทธา จะรักษาเป็นครั้งเป็นคราวนั้นได้ ส่วนศีล 227 ก็เช่นเดียวกัน จะรักษาข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ พระพุทธเจ้าพระองค์ไม่ห้าม แต่อย่าไปสมาทานก็แล้วกัน . อย่างครั้งฆฏิการพรหมเสวยพระชาติเป็นฆฏิการบุรุษ เลี้ยงบิดามารดาตาบอดทั้งสองข้าง ทั้งสองคนด้วยการตีหม้อเอาไปแลกอาหารมาเลี้ยงบิดามารดาตาบอด อยู่มาวันหนึ่งพระพุทธเจ้าชื่อกัสสปะ เสนาสนะของพระองค์ไม่มีเครื่องมุง พระองค์ใช้ให้พระไปขอเครื่องมุงกับฆฏิการบุรุษ ฆฏิการบุรุษรื้อหลังคาบ้านถวายพระสงฆ์ทั้งหมดในพรรษานั้น ฆฏิการบุรุษมุงด้วยอากาศตลอดพรรษา ฝนไม่รั่วเลย . วันหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินนิมนต์พระพุทธเจ้าชื่อ กัสสปะ เข้าไปเสวยในพระราชวัง พอเสร็จแล้วจึงได้อาราธนาขอนิมนต์ให้จำพรรษาในสวนพระราชอุทยาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้รับนิมนต์ของฆฏิการบุรุษก่อนแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจึงตรัสว่า ข้าพระองค์เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายในแว่นแคว้นอันนี้มิใช่หรือ เมื่อข้าพระองค์นิมนต์ ทำไมจึงไม่รับ ฆฏิการบุรุษมีดีอย่างไร . พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงเล่าพฤติการณ์ของฆฏิการบุรุษถวายพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแต่ต้นจนอวสาน เมื่อพระองค์ได้สดับแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ในฆฏิการบุรุษเป็นอันมาก จึงให้ราชบุรุษเอาเกวียนบรรทุกสิ่งของต่างๆมีข้าวสาร ถั่วงา เนยใส เนยข้น เปลี่ยงมัน เป็นต้น ไปให้แก่ฆฏิการบุรุษ เมื่อฆฏิการบุรุษเห็นจึงถามว่า นั่นใครให้เอามา ราชบุรุษจึงบอกว่า พระเจ้าแผ่นดินรับสั่งให้เอามาให้ท่าน ฆฏิการบุรุษจึงบอกว่า ดีแล้ว พระเจ้าแผ่นดินพระองค์มีภาระมาก เลี้ยงผู้คนเป็นจำนวนมาก เราหาเลี้ยงกันสามคนไม่ลำบากอะไร ช่วยกราบบังคมทูลว่า ของทั้งหมดเราขอถวายคืนให้พระเจ้าแผ่นดินไว้ตามเดิมก็แล้วกัน . ฆฏิการบุรุษเป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้า เพียงแค่ขุดดินมาปั้นหม้อก็ไม่ทำ อุตส่าห์ไปหา*ขวายหนูขวายตุ่น และตลิ่งที่มันพัง เอามาปั้นหม้อ ส่วนสิกขาบทที่หยาบกว่านั้น ทำไมผู้รักษาศีล จะละเว้นไม่ได้ ศีล 5 เป็นเสมือนท่านบัญญัติตราไว้สำหรับโลกนี้ ผู้จะทำดีต้องเว้นข้อห้าม 5 ประการนี้ ผู้จะประพฤติความชั่วก็ทำตาม 5 ข้อนี้เป็นหลักฐาน จะพ้นจาก 5 ข้อนี้แล้วไม่มี . ผู้จะถึงพระไตรสรณคมน์ ต้องถือหลัก 5 ประการนี้ให้มั่นคง คือไม่ประมาทพระพุทธเจ้า หนึ่ง ไม่ประมาทพระธรรม หนึ่ง ไม่ประมาทพระสงฆ์ หนึ่ง ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมเชื่อว่าเราทำดีต้องได้ดีเราทำชั่วต้องได้ชั่ว ไม่เชื่อว่าของภายนอกจะมาป้องกันภัยพิบัติเราได้ หนึ่ง ไม่ทำบุญภายนอกพระศาสนาหนึ่ง การเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่าเราทำดีย่อมได้ดี เราทำชั่วย่อมได้ความชั่ว ชัดเจนในใจของตนแล้ว ..ศีล 5 ย่อมไหลมาเอง สามข้อเบื้องต้น แลข้อหนึ่งเบื้องปลาย ไม่เป็นของสำคัญ . ฆราวาสต้องสมาทานศีล 5 ศีล 8 ถึงศีล 10 แล ศีล 227 ฆราวาสก็รักษาได้เป็นข้อๆ แต่อย่าสมาทานก็แล้วกัน เพราะศีล คือข้อห้ามไม่ทำบาป ฆราวาสก็ไม่มีข้อบังคับว่า ไม่ให้ทำบาปเท่านั้นข้อเท่านี้ข้อ ถึงแม้พระภิกษุแลสามเณรก็เหมือนกัน ที่พระองค์บัญญัติไว้ ฆราวาสต้องรักษาศีล 5 ศีล 8 สามเณรต้องรักษาศีล 10 ภิกษุต้องรักษาศีล 227 นั้น พระองค์ทรงบัญญัติพอให้เป็นมาตรฐานเบื้องต้น ให้เป็นเครื่องหมายว่าฆราวาส สามเณร ภิกษุผู้มีชั้นภูมิต่างกันอย่างนี้ๆเท่านั้น ถ้าเห็นว่าบาปกรรมที่ตนทำลงแล้ว จะต้องตกมาเป็นของเราเอง แล้วงดเว้นจากบาปกรรมนั้นๆ จะมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นการดี ดังที่อธิบายมาแล้ว พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ห้าม..ทรงห้ามแต่การกระทำความชั่วอย่างเดียว …………
เรียบเรียง:ธนสิทธิ์ เศขรฤทธิ์ . **ขวายหนูขวายตุ่น* เศษของดินที่ไร้สิ่งเจือปน เมื่อหนูกับตุ่นขุดโพรง . . . ที่มา: หนังสือ สิ้นโลกสิ้นธรรม โดยพระนิโรธรังสี คัมภีร์ปัญญาจารย์ (เทศก์ เทศรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย หน้า 5-6 ......................
Mind is the Master Dhamma Teaching by Venerable Luang Pu Thet Thetrangsi .....................
Some people say that we have to hold the precepts through our acts and speech. There’s no need to control our mind because that is the practice of concentration (Samadhi). This really makes me confused. How can our body and mind be separated? I may look foolish about this but let me explain my view. . Let’s say a man is going to kill someone or steal something from him. His mind would start from having bad thoughts. Then he would hide and wait for the right time to kill or steal from that person. With that intention, his mind is already unwholesome as he is ready to do something sinful. Is that right? However, if he’s able to control his mind, he wouldn’t do it, then he wouldn’t break the precepts. So, do you think it’s possible to hold on to the precepts without controlling our mind since the mind leads to the actions? It's said that in order to hold on to the precepts, we are required to be in control of three things - our speech, our actions and our thoughts. Is it correct or not? The Buddha said, “The mind is the master of all Dhamma. Once the mind is right, success can be achieved.” That means our mind leads to all actions. Our deeds lead to good state, bad state or neither-good-nor-bad state. (In fact, everyone is this world does bad deeds, one way or another). After much consideration in the cause and effect, I must say that it’s not possible to hold the precepts by separating the physical action and speech from the mind. . In the past, there was a monk who went to the Buddha as he wanted to leave the monkhood because he was unable to commit to the numerous monastic disciplines. The Buddha said, “Do not leave. If you’re unable to commit to all disciplines, the only thing you need to do is to control your mind.” So you see, the Buddha taught us the importance of the mind. Hence, to keep the precepts, we cannot neglect the mind. . Laypeople with strong faith may choose to follow the Five Precepts, the Eight Precepts or the Ten Precepts. For the Ten Precepts, people can choose to follow from time to time. On the other hand, the Buddha said that we can follow any of the 227 Precepts at a time, but do not undertake it with commitment. . In the time of Kassapa Buddha, a brahmin named Ghatikara cared for his blind parents by making pottery in exchange for food. During one rainy season, the Buddha’s lodging lacked a roof, so he sent a monk to asked Ghatikara for the roof. Ghatikara therefore offered his own roof to the monk. Although without the roof, the rain never leaked into his house throughout that rainy season. One day, the King invited Kassapa Buddha to the palace to receive alms offering. Afterwards, he invited the Buddha to reside at the palace, but the Buddha declined, saying “I’ve already accepted Ghatikara’s invitation.” So the King said that he was the most powerful man in the land, why didn’t the Buddha accept his invitation? What made Ghatikara better than him? . The Buddha told the King of Ghatikara’s dedication. After hearing the story, the King felt respectful to Ghatikara and decided to send him carts loaded with various foods such as rice, peanuts, sesame, ghee and butter. Once Ghatikara saw the cartload of food and found that it was from the King, he responded, “Our King is so generous. Since he has to care for his people while I, on the other hand, have only three mouths to feed, please inform the King that I wish to return these things to him.” . Ghatikara was a man with such abiding faith. He even refused to dig the clay for his pottery work with fear of harming the tiny lives. Instead, he collected the clay that was hollowed out from the mice holes or washed down on the side of the river bank. So fellow practitioners, is it that difficult to commit to the Five Precepts? The Five Precepts is a conduct for those who wish to do good to follow. Doing against these five rules means doing bad deeds. . Those who wish to reach the Three Refuges must constantly follow the five guidelines; not to be careless about the Buddha, not to be careless about the teachings, not to be careless about the monks, not to be superstitious but to believe in karma (Good deeds result in positive karma and bad deeds result in negative karma), not to seek merit outside of the doctrine. In the end, when we believe in karma, the Five Precepts will come to our mind. Laypeople must follow either the Five or the Eight or the Ten Precepts. For the 227 Precepts, laypeople may choose to follow a few, but no need to be committed. This is the guidance for them as well as for the monks to follow. The reason that the Buddha instructed laypeople to follow the Five or Eight Precepts, novices to follow the Ten Precepts and monks to follow the 227 Precepts is for differentiation. Once we understand the result of karma, we must avoid any sinful action as explained earlier.
......................... Compiled by: Thonasit Sekorarit Translated by: Yokfah Suchitcharoen
Opmerkingen