top of page

April 17 is an important day for Thailand as it is the birthday of Somdet Phra Phutthachan Toh


April 17 is an important day for Thailand as it is the birthday of Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi) and King Taksin the Great. Both of them had greatly contributed to the country and Buddhism. Additionally, it is the day Knowing Buddha Organization was founded by Master Acharavadee Wongsakon.

Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi)

Somdet To was born on Thursday, April 17, 1788 in Ayutthaya province in the reign of King Rama I. When he was young, he was ordained as a novice, having Venerable Phra Bawornviriyatera as the preceptor. After the ordination, Somdet To studied Buddhist scripture at Wat Rakhang until he was brilliant in Buddhist knowledge. In the year 1807, he was ordained as a monk at the Temple of the Emerald Buddha and became known as "Phra Maha To".

Since the ordination, Somdhet To was well known for his Dhamma preaching. After graduated in Buddhist scripture, he translated the scripture. Although he was much favored by King Rama I and King Rama III, he did not want any monastic title. He just preferred being Phra Maha To or "Khrua To" (meaning - the old monk named To).

Somdet To was usually modest and lived a humble monastic life. Whenever he received offerings from his sermons, he spent them for building temples. So, he became highly respected by many people. It is said that King Rama IV knew how great his virtue was, so he appointed Phra Maha To as the Patriarch named ‘Phra Dhamma Kitti’ in the year 1852. At that time, he was 65 years old. Two years later, he was appointed as the Senior Patriarch, ‘Phra Thep Kawee’, and as Somdej Phra Phutthachan in the year 1864. He passed away on Saturday, June 22, 1872, when he was 85 years old, with 65 years in monkhood.

King Taksin the Great

King Taksin was the first and only king of Thonburi Kingdom. He was born on Sunday, April 17,1734, the Year of Tiger, in the Kingdom of Ayutthaya. His original name was Yong. In his youth, he was adopted by Chao Phraya Chakri who named him ‘Sin’. At nine years old, he was sent to study in the school of Phra Ajarn Thongdee at Wat Kosawat. Later on, Chao Phraya Chakri brought him to serve as a royal page in the Royal Palace. During that time, he studied and could fluently speak three languages: Chinese, Vietnamese and Indian (some said Pali).

When he was 21 years old, he was ordained as a monk in the care of Phra Ajarn Thongdee at Wat Kosawat (it’s now Wat Choeng Tha). After three years, he left monkhood and returned to royal service. As he was knowledgeable in the royal customs and affairs, he was appointed as a courtier in the Department of the Interior and the Royal Palace Court. He persevered in his duties with great performances, he was therefore promoted by the king to be the deputy governor of Tak province. And when the governor passed away, he was appointed as Phraya Tak (Sin) to rule the province. Later, he was given the title Phraya Vajiraprakarn, governing Kamphaeng Phet. He helped fight and protect Ayutthaya from the Burmese army.

In 1767, Ayutthaya was defeated by the Burmese army. But Phraya Tak and his troops were finally able to release Ayutthaya from the Burmese and evacuated people to the capital city of Thonburi. The coronation ceremony was performed on December 28, 1768, when he was 34 years old. He assumed the official name as ‘Somdet Phra Si Sanphet’ or Somdet Phra Borom Raja IV, but the general public usually called him ‘King of Thonburi’ or ‘King Taksin the Great’.

Knowing Buddha Organization for Protection of Buddhism

Knowing Buddha Organization was founded on April 17, 2012 by Master Acharavadee Wongsakon. It was a year after the establishment of Techo Vipassana Meditation Practice.

Master Acharavadee Wongsakon committed herself to Techo Vipassana Meditation teaching along with her mission to restore morality and conscience of people in the society and to resolve the blindness that prevails everywhere in the world. Her resolute mind and courage reflect in variety of operations in the name of ‘Knowing Buddha Organization’. She has been devoting her life and soul immensely for the great aspiration to protect the honor of the Buddha and to revive Buddhism.

From her teachings - “Once the 'conscience' is resolved, good 'common sense' will follow. Disrespect and ignorance will gradually be reduced”, the mega-billboards have been installed at strategic points to be seen by tourists so as to cultivate a sense of respect and basic morality which is the cornerstone of human beings. With uncompromising perseverance and incomparable bravery, changes clearly began to occur, such as at Chatuchak Weekend Market, where the sales of Buddha heads as decoration items have decreased significantly, etc. Many disrespecting cases around the world, whether it is international or global business, have been stopped. In the case of Louis Vuitton’s art piece, it stimulated the society to realize what is wrong and then correct it. All these maintain good morals as well as protecting the honor of the Buddha and sustaining Buddhism.

After the organization was founded, Master Acharavadee learned that April 17 is also the day associated with the two important persons of Techo Vipassana Meditation Practice, who played a very important role in upholding Buddhism. The day was the birthday of Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi) and King Taksin the Great who was evidently determined to protect the nation and uphold Buddhism, as shown in the inscription translated below:

“My name is Phraya Tak.

I endured hardships to save the nation and the religion.

I dedicated this land to the Buddha, the Religion, the Monks and Gautama Buddha,

for Buddhism to last for five thousand years.

I would admire monks and ascetics who practice Concentration and Vipassana Meditation.

That’s the way to follow in the Buddha's footsteps.

If you miss me, I am with you,

the same way our nation remains with our religion,

Buddhism remains with the kings.

This is what the Buddha gave to us."

On the occasion of the 11th anniversary of Knowing Buddha Organization, we would like to invite Techo Vipassana students and believers to make merit in honor of King Taksin the Great, and to pay respect to the Great Master Venerable Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi) and Master Acharavadee Wongsakon.

Compiled by: Suphang Srisod

Article source:

Book of Somdet Phra Phutthachan (To Phrommarangsi), Dhammathan Edition (1901) by Pantham Tankhun, pages 13-15.

Biography of King Taksin the Great, the commemorative book for the opening ceremony of the royal monument of King Taksin the Great, Bangkok: Amarin Printing, 1981. Pages 13-41.

Website: https://www.knowingbuddha.org

Translation: Napassakorn Oveerawong and Samroeng Thongrong

.........

วันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี นับเป็นวันที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย คือ เป็นวันคล้ายวันเกิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเกื้อกูลแผ่นดินและค้ำชูพระพุทธศาสนา และยังเป็นวันก่อตั้งองค์กรโนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา โดยท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ชาตะในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๑ ที่หมู่บ้านตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บวชเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๑ โดยมีเจ้าคุณพระบวรวิริยเถร วัดสังเวชวิศยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้เล่าเรียนปริยัติธรรมอยู่ที่วัดระฆังจนมีความรู้แตกฉาน ครั้นอายุครบอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงเรียกกันว่า “พระมหาโต” ตั้งแต่แรกบวชมา กล่าวกันว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ไพเราะนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงพระเมตตาท่านมาก แต่ท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติธรรมแล้ว ก็เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรม แต่เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านได้ทูลขอตัวเสีย คงเป็นแต่พระมหาโต ตลอดมา บางคนก็เรียกว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอะไรก็ทำตามความพอใจของท่าน

ไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่ อัธยาศัยของท่านมีความมักน้อยเป็นปกติ ถึงได้ลาภสักการะมาในทางเทศน์ก็เอาไปใช้ในการสร้างวัดเสียเป็นนิจ จึงมีผู้นับถือท่านมาก เมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ไม่ขัด กล่าวกันว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบถึงคุณธรรมของท่านว่ายิ่งใหญ่เพียงไร จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ ในเวลานั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปี ต่อมาอีก ๒ ปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) มรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗ ท่านถึงมรณภาพ เมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ อายุได้ ๘๕ ปี ครองได้ ๖๕ พรรษา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระปฐมกษัตริย์และกษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า หยง ในวัยเยาว์เจ้กฎาพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และตั้งชื่อให้ว่า สิน เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาสน์ เมื่อเจริญวัยขึ้นพอสมควร เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กรับใช้อยู่เวรในวังหลวง ระหว่างนั้นได้เรียนหนังสือและวิชาการ พูดได้อย่างชำนิชำนาญถึง ๓ ภาษา คือ ภาษาจีน ญวน และแขก

ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรีได้อุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนักอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาสน์ (ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า) อุปสมบทอยู่ ๓ พรรษา ก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียม ราชกิจต่าง ๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานในกรมมหาดไทยและกรมวังศาลหลวง นายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการพระยาตาก เมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน พ.ศ. ๒๓๐๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาตาก (สิน) ขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร ได้มาช่วยรบป้องกันกรุงศรีอยุธยาจากกองทัพพม่า

พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า แต่พระยาตากและไพร่พลก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ แล้วได้อพยพผู้คนลงมาตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงธนบุรี และได้กระทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นวันก่อตั้งองค์กรโนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา โดยท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อตั้งสายธรรมเตโชวิปัสสนาเป็นเวลา ๑ ปี ท่านมุ่งมั่นสั่งสอนเตโชวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับกิจในการฟื้นฟูศีลธรรมและจิตสำนึกของคนในสังคม แก้ไขความมืดบอดที่เกิดขึ้นทั่วทุกหนแห่งในโลกอย่างเด็ดเดี่ยว หนักแน่น และอาจหาญ ผ่านการดำเนินงานหลากหลายรูปแบบ ในนามองค์กร ‘โนอิ้ง บุดด้า’ มหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่จะปกป้องพระเกียรติพระบรมศาสดาและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ที่ท่านอาจารย์ทุ่มเทกำลังชีวิตและจิตวิญญาณไว้อย่างมากมายมหาศาล ได้มีการติดตั้งเมกะบิลบอร์ดที่สูงตระหง่านตามจุดยุทธศาสตร์ คือจุดที่ผู้เดินทางเข้าเมืองจะต้องได้เห็นเด่นชัด การปลูกฝังจิตสำนึกแห่งความเคารพ คือการปลูกฝังศีลธรรมขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความเป็นมนุษย์ ดังคำสอนที่ท่านเคยเขียนไว้ว่า “เมื่อแก้ไขที่ ‘จิตสำนึก’ ได้ แล้ว ‘สามัญสำนึก’ ที่ดีก็จะตามมา การลบหลู่และการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะค่อย ๆ ลดลงไปตามลำดับ” ด้วยความพากเพียรอย่างไม่ย่อท้อและความอาจหาญหาอื่นใดเปรียบ ความเปลี่ยนแปลงก็เริ่มเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังที่ตลาดนัดจตุจักรซึ่งมีการขายเศียรพระพุทธรูปเป็นของตกแต่งลดน้อยลงอย่างชัดเจน เป็นต้น รวมถึงกรณีการลบหลู่มากมายทั่วโลกถูกยับยั้งและแก้ไขอย่างน่าชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นกรณีระดับนานาชาติหรือธุรกิจระดับโลก อย่างกรณีงานศิลป์โดย Louis Vuitton ล้วนก่อเกิดแรงกระเพื่อมให้สังคมได้รับรู้และแก้ไขสิ่งที่ผิด ปรับเปลี่ยนสู่สิ่งที่ถูกควร เพื่อธำรงรักษาศีลธรรมอันดีงาม เพื่อปกป้องพระเกียรติแห่งพระบรมศาสดา และเพื่อความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาสืบไป

เมื่อก่อตั้งองค์กรแล้ว ท่านอาจารย์ได้ทราบภายหลังว่า วันที่ ๑๗ เมษายน ยังเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการค้ำจุนพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันคล้ายวันเกิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๒ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสายธรรมเตโชวิปัสสนา อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีปณิธานอันเป็นที่ประจักษ์ในการปกปักรักษาชาติ และค้ำจุนพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ปรากฏคำจารึกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ความว่า

“อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก

ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา

ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา

แด่ศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี

สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม

เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม

ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า

ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา

พระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา

พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน”

ในโอกาสครบรอบ ๑๑ ปีของการก่อตั้งองค์กรโนอิ้ง บุดด้า ขอเชิญศิษย์เตโชวิปัสสนาและผู้ศรัทธา ร่วมกันประกอบบุญกุศล น้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช น้อมถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่พระอาจารย์ใหญ่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล โดยพร้อมเพรียงกัน

ผู้เรียบเรียง : สุภางค์ ศรีสด

แหล่งที่มาบทความ :

หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ฉบับธรรมทาน (๒๔๔๔) โดย ปันธรรม แทนคุณ หน้า ๑๓-๑๕

หนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ระลึกพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๔. หน้า ๑๓-๔๑

เพจ Knowing Buddha

bottom of page