top of page

Why We Shouldn't Dress to Mimic the Buddha, Monks, or Priests



เหตุใดจึงไม่ควรแต่งกายเลียนแบบพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ หรือนักบวช

ภาษาไทยโปรดอ่านด้วยล่าง

----------------------------------

Before Prince Siddhartha became the Buddha, He sacrificed many things including a luxurious lifestyle. He practiced extreme asceticism on the way to finding a way to end the cycle of rebirth. After He attained enlightenment, He began teaching people to end their suffering and to reach Nirvana. He continued this until the end of His life. His kindness is infinite. Although He went to Nirvana more than 2,500 years ago, Buddhists still pay respect to Him and the symbols that represent Him, such as Buddha statues, pagodas and the monk's robe.

The monk's robe was the dress of the Buddha and His disciples during His lifetime and it still is now, so it is sacred. Even if the robe is not being worn by a monk, is simply lying on the table, or has never been used by a monk, it still reminds people of the Buddha and His disciples. So, when we carry the robe, we must do so with respect as if the robe belonged to the Buddha Himself. If one desires to wear the robe, one must first be ordained.

Therefore, wearing a monk's robe or a hat that looks like Buddha's hair in order to attend a costume party or for any other mundane purpose is inappropriate for the following reasons:

- It disgraces the Buddha because dressing to mimic the Buddha shows disrespect.

- It devalues monks because the robe is their sacred dress. Using the robe for entertainment or any other reason means disrespecting monks.

- It creates further misunderstanding because people who see such mimicking might do the same.

- It undermines belief in Buddhism. People might think that someone who mimics a monk is really a monk and so it leads to the erosion of people's belief in Buddhism.

- It causes Buddhism to decline because mimicking monks makes people disrespect them and that can lead people to believe that Buddhism is just philosophy instead of one of the world's major religions.

----------------------------------

เจ้าชายสิทธัตถะกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้นทรงต้องเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ทรงทรมานพระวรกายอย่างยิ่งยวดเพื่อค้นหาธรรมแห่งการดับทุกข์ เมื่อตรัสรู้แล้วทรงสอนสั่งธรรม ให้แก่เหล่าเวไนยสัตว์จวบจนวันสุดท้ายของพระองค์ พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นั้นจึงหาที่สุดมิได้ แม้นพระองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วกว่า 2,500 ปี สิ่งใดที่เป็นเครื่องแทนพระองค์ เหล่าชาวพุทธจึงให้ความเคารพและกราบไหว้ เช่น พระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือแม้นกระทั่ง "ผ้ากาสาวพัสตร์" หรือ "ผ้าไตรจีวร"

ผ้าไตรจีวรเป็นผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกในสมัยพุทธกาล และใช้สืบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จึงถือเป็นผ้าศักดิ์สิทธิ์ แม้นผ้าไตรจีวรนี้เพียงแค่วางไว้หรือยังไม่ได้ถูกนุ่งห่ม ผู้พบเห็นผ้านี้ก็จะน้อมรำลึกถึงพระบรมศาสดาหรือเหล่าพระสาวก การหยิบจับก็จะมีความสำรวมเปรียบประหนึ่งผ้านี้เป็นผ้าที่พระพุทธองค์และพระสาวกใช้ครอง ซึ่งการจะได้ครองผ้าไตรจีวรจึงต้องผ่านพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา คือการบวช หรือการอุปสมบท ดังนั้นการแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ เช่น การนำจีวรหรือการทำหมวกที่มีลักษณะเป็นมวยพระเกษามาสวมใส่ เพื่อสร้างเป็นธีมงานสังสรรค์ หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นใดย่อมไม่สมควรด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

- เป็นการหมิ่นพระบรมศาสดา เพราะการแต่งกายล้อเลียนหรือเลียนแบบพระองค์เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพต่อพระพุทธเจ้า

- เป็นการลดคุณค่ารัตนะดวงที่สาม ของพระพุทธศาสนา เพราะผ้าจีวรคือเครื่องแบบของพระภิกษุสงฆ์ การนำผ้าจีวรไปใช้เพื่อความบันเทิงหรือจุดประสงค์อื่นใดย่อมเป็นการไม่ให้ความเคารพ

- เป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดให้กับสังคม เพราะการกระทำเช่นนี้ย่อมทำให้คนนำไปลอกเลียนแบบได้

- เป็นการบั่นทอนศรัทธา เพราะบางคนอาจคิดว่าคนที่แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์คือพระจริง ๆ เมื่อมีภาพที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และนำไปสู่การหมดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

- เป็นปัจจัยทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถอย เพราะการแต่งกายลอกเลียนแบบทำให้คนขาดความยำเกรงต่อพระสงฆ์หรือบางคนอาจคิดเลยเถิดไปว่าศาสนาพุทธเป็นเพียงแค่ปรัชญา ผู้คนขาดความเคารพนบนอบ จึงเป็นสิ่งที่น่าสลดใจ

ขอท่านโปรดช่วยกันดูแลพระพุทธศาสนา ให้คงอยู่ ให้งดงาม เพื่อยังศรัทธาให้หนักแน่น เคียงคู่กับความเป็นศาสนาประจำชาติของไทยเราสืบไป

-------------------------------

Comments


bottom of page