top of page

ไม่ผิดศีล ไม่ผิดใจ (Unbroken Precepts, Unbroken Relations)


(English version below)

ธรรมะจากพระอริยเจ้า: พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

……………….

คนมีศีลย่อมเป็นที่รักของคนทั้งหลาย เพราะผู้มีศีลเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ระมัดระวังในความประพฤติทางกาย ทางวาจาไม่ให้ผิดศีล เมื่อไม่ผิดศีล มันก็ไม่ผิดใจคน ถ้าไปทำอะไรผิดศีลก็ผิดใจคนเหมือนกัน ลองสังเกตดู เช่น ศีลข้อที่ ๑ อย่างนี้นะ ก็ไปทุบไปตีเขา เขาย่อมโกรธเอา หรือไปด่าไปว่าเขา กล่าวคำเจ็บคำแสบเข้าไป เขาก็โกรธไม่พอใจ นั่นแหละ บุคคลผู้ทำผิดศีลก็ผิดใจคน ไปถือเอาสิ่งของของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตให้ เมื่อเขารู้เข้า เขาก็ไม่พอใจ เขาก็โกรธเอา

.

สามีภรรยาของใคร ใครก็หวงแหนรักใคร่ คนเจ้าชู้มารยาไปตีสนิทหลอกลวงเข้าไป ให้เขาหลงเชื่อหลงรักใคร่ตน ให้เขายอมทิ้งสามีเขาไปกับตน หรือว่าให้เขายอมทิ้งภรรยาของเขาไปกับตน อย่างนี้นะเจ้าของเขารู้เข้าเขาก็ไม่พอใจ เขาก็โกรธเอา การกล่าววาจาไม่ไพเราะ หรือกล่าวคำเหลาะแหละเหลวไหล หาคำสัตย์คำจริงไม่ได้ ใครได้ยินได้ฟังเข้าไป ได้รู้ภายหลังว่า ผู้นี้มีวาจาเหลาะแหละพูดไม่จริง เขาก็เกลียด เขาก็ไม่พอใจ หรือชอบพูดคำหยาบ กระทบกระทั่งผู้อื่นบ่อย ๆ ใครก็ไม่ชอบขี้หน้า มีแต่คนเกลียดชัง การดื่มเหล้าเมาสุราของเสพติดต่าง ๆ หมู่นี้ ไอ้พวกซ่องเสพเหมือนกัน มันก็พอใจกัน ชอบพอกัน แต่ว่ามันชอบพอกันเมื่อเวลาไม่มีเหตุนะ แต่เมื่อเวลามีเหตุมาถึงเข้าแล้วกลายเป็นศัตรูกันไป คนผู้ดีทั้งหลายยิ่งไม่ชอบคนดื่มของมึนเมาเพราะแสดงกิริยาหยาบโลนต่าง ๆ นานา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรื่นเริงบันเทิงใจเลย คำพูดคำจากิริยาท่าทางล้วนแต่ไม่น่าดูทั้งนั้น

.

อันนี้แหละ เพราะฉะนั้นถึงว่าคนเราเมื่อทำผิดศีล พูดผิดศีลแล้ว มันก็ผิดใจคนนั้นเอง ทีนี้มันก็มาจากดวงจิตมัน เมื่อจิตไม่มีศีลแล้ว กาย วาจา มันจะมีศีลได้อย่างไร จิตเจตนาที่จะล่วงละเมิดในพุทธบัญญัตินั้น ๆ แล้วเช่นนี้นะ มันก็ใช้กายทำ ใช้วาจาพูดไปในทางผิดศีลผิดธรรมไป นั้นถึงว่าสำคัญมันอยู่ที่จิตนั้นแหละ ถ้าจิตมีศีล มีหิริโอตตัปปะธรรมอยู่ในใจ ละอายต่อการทำชั่วทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง กลัวความชั่วนั้นมันจะตามสนองให้เป็นทุกข์ เมื่อมีคุณธรรมสองอย่างนี้อยู่ในใจแล้ว ผู้นั้นก็มีศีลและไม่กล้าล่วงละเมิดพุทธบัญญัติต่าง ๆ นี่ต้นศีลแท้ ๆ มันจึงชื่อว่าอยู่ที่ใจไม่ใช่อยู่ที่อื่น ผู้ใดรักษาใจของตนได้ ก็รักษากายรักษาวาจาได้ ก็มีศีลก็มีธรรม ย่อมเป็นที่รักที่นับถือที่เคารพจากผู้อื่น ใครก็ต้องการจะคบหาสมาคมคนที่มีศีลมีธรรมอย่างนั้น

.

อันนี้แหละที่พระศาสดาทรงสอนให้คนเรารักษาความดีของตนไว้ ให้เหมือนกับเกลือรักษาความเค็ม ธรรมดาเกลือนะ จะไปจมอยู่ในดิน มันก็มีความเค็มอยู่ในดินนั้นแหละ จะเอาละลายลงไปในน้ำ มันก็ไปเค็มอยู่ที่น้ำ ทำน้ำนั้นให้เค็ม อันนี้ ก็เช่นเดียวกันนั้นแหละ บุคคลผู้รักษาความดีของตนไว้ได้ จะไปที่ไหนจะอยู่ที่ไหนความดีก็ปรากฏอยู่ในที่นั้น เป็นที่สรรเสริญเยินยอของคนทั้งหลาย คนทั้งหลายย่อมเคารพยำเกรง อีกอย่างหนึ่ง พระศาสดาทรงสอนให้คนเรารักษาความดีของตนไว้ เหมือนกับตัวแรดมันรักษานอของมันไว้ ธรรมดาแรดนี้มันสงวนนัก นอของมันน่ะ ถ้ามันรู้ว่าคนจะเอานอของมันอย่างนี้ มันจะต้องหนี ต้องพ่าย หรือต้องสู้เอาจนสุดฤทธิ์เลย จนตัวตายนู่นแหละ มันจะไม่ยอมให้เอานอของมันไปได้ง่าย ๆ เลย ช้างก็เหมือนกันนะ มันก็รักษางาของมันไว้เป็นอย่างดีฉันใด พระศาสดาทรงสอนให้พุทธบริษัทนั้นรักษาความดีของตนไว้อย่าให้เสื่อม ก็ฉันนั้น

.

ดังนั้น ก็ให้พึงพากันพิจารณาตามพุทธโอวาทพุทธศาสนา ดูว่าทำไมพระศาสดาจึงทรงสอนให้รักษาความดีของตนไว้ ก็เพราะตนจะมีความสุขได้ในขั้นใด ๆ อาศัยความดีที่ตนทำนี้เท่านั้น เราจะไปให้สิ่งอื่นนั้นมาทำให้ตนมีความสุขความเจริญมันเป็นไปไม่ได้ พระศาสดาทรงรู้แจ้งแล้ว ดังนั้นพระองค์เจ้าจึงแนะนำย้ำแล้วย้ำอีก ให้คนเรานั้นเชื่อมั่นในความดีที่ตนกระทำนี้ให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เลย อย่าไปเชื่ออย่างอื่น เมื่อตนทำความชั่วอย่างนี้นะ มันก็ได้รับผลเป็นทุกข์ มันเห็นได้ทั้งในปัจจุบันนี่แหละ ไม่เฉพาะแต่ไปเห็นผลในเบื้องหน้าในชาติหน้าเท่านั้น ก็เห็นในปัจจุบันนี่เอง

.

คนผู้ล่วงศีลล่วงธรรมดังกล่าวมานั้นนั่นแหละ มันถึงได้เบียดเบียนกันวุ่นวายอยู่ในโลกนี้ เบียดเบียนกัน ไม่ถึงตาย ก็ทุพพลภาพ หรือเบียดเบียนทรัพย์สมบัติของกันและกัน เบียดเบียนสามีภรรยากันในทางชู้สาว ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นทุกข์เดือดร้อนอย่างรุนแรง นี่ใช้กับเบียดเบียนชีวิต ถึงล้มถึงตาย หมู่นี้ล่ะ มันก็เกิดจากความเป็นผู้ไม่สำรวมจิต ไม่รักษาจิตดวงนี้ ปล่อยให้กิเลสมันครอบงำย่ำยีเอา ปล่อยให้กิเลสมันจูงไปในทางที่ไม่ดีต่าง ๆ เพราะฉะนั้นนะ ให้พากันพิจารณาดูให้ดี ก็คนเกิดมาในโลกนี้นะ เมื่อเพ่งพิจารณาถึงความต้องการแล้วไม่มีอย่างอื่นใด ต้องการความสุขอย่างเดียว ต้องการเงินทองข้าวของ ก็อยากจะได้มาใช้สอยให้มีความสุขสบาย แต่คนส่วนมากมักจะต้องการแต่ความสุขชั่วคราว จึงได้ดิ้นรนหาแต่เงินแต่ทอง เข้าใจว่าเงินทองนั้น จะให้ความสุขแก่ตนไปยืดยาวนาน แท้ที่จริงแล้ว มันก็ให้ความสุขได้แค่ชั่วชีวิตนี้เท่านั้นเองนะ บางทีก็ไม่ถึงชั่วชีวิตด้วยซ้ำ ถูกโจรเขามาปล้นมาแย่งเอาไปเสียจนหมดก็มี มันไม่นึกถึงทรัพย์ภายในคือบุญกุศลเลย บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พระองค์จึงแสวงหา ทั้งทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายใน

.

ตอนที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ทรงสร้างบารมีอยู่ พระองค์ทรงเห็นประโยชน์ทั้งสองอย่าง ทรัพย์สมบัติอันเป็นส่วนโลกภายนอกเมื่อได้มามาก ๆ แล้ว ก็จำแนกแจกทาน ไม่หวงแหน ไม่บริโภคเฉพาะตนเท่านั้น ทรัพย์ภายใน คือ ความประพฤติสุจริตด้วย กาย วาจา ใจ ไม่ทำความชั่ว ไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ดังกล่าวมานั้น ก็ทำให้คนดีทั้งหลายนั้นเคารพนับถือ อยากจะคบหาสมาคม ยอมเป็นบริษัทบริวาร ดังนั้นพระองค์จึงเป็นผู้มีบริษัทบริวารมาก นี่เพราะว่าพระองค์กระทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ทำใครให้เดือดร้อน ดังนั้นแหละการรักษาความดีของตนไว้ได้นี้ จึงชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำโดยแท้จริง ถ้าเราไม่รักษากุศลคุณงามความดีไว้แล้ว ไม่ทราบว่าจะไปรักษาอะไรอื่นได้บ้าง นี้ลองคิดดูให้ดี รักษาอะไรก็ไม่เท่ารักษาความดี คิดให้มันเห็น ก็รักษาใจให้มันดีซะอย่างเดียวอย่างที่ว่ามานั้นแหละ การที่ใจมันจะดีได้ก็เพราะต้องกระทำให้มันถูกแบบถูกแผนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ในเบื้องต้นนี้ ก็พยายามเพ่งจิตนี้ให้มันเข้มแข็ง ให้มันกล้าหาญ ให้มันสงบ อย่าให้ใจมันอ่อนแอ ถ้าใจอ่อนแอแล้ว มันก็สู้อำนาจกิเลสไม่ได้ กิเลสมันก็จูงไปได้ตามประสงค์…

……….

เรียบเรียง: ธนสิทธิ์ เศขรฤทธิ์

……….

Unbroken Precepts, Unbroken Relations

Dhamma from Phra Suthamkanajarn, Venerable Luang Pu Rien Woralpo

We always like a moral person because that person always behaves mindfully in body and speech, not breaking the Five Precepts. If we follow the Five Precepts, we will surely not harm others. For example, if we hit others, they will be angry. If we speak bad words to others, they will become upset and angry. If we take others’ belongings, they will feel displeased and angry too.

.

For a married couple, if the husband or wife is unfaithful and has an affair with someone else, the other one will be very furious. Furthermore, people do not like those who do not commit to their words, lie, or blather. The same applies to those who often use bad words and talk badly to others. Decent people will not associate with those addicted to drug and liquor because of their irritating and impolite behaviors.

.

The reason is that when one breaks the precepts through his act and speech, he will upset others. If the mind violates the precepts, how do the body and speech follow the precepts? The mind that intends to violate the precepts will make the body and speech break the precepts as well. That’s why the mind is the most important. If our mind firmly follows the precepts and has shame and fear of committing sin, we are surely on the moral path. Everything originates from the mind. Therefore, those who take care of their minds well can act and speak following the Five Precepts and are likable.

.

This is what Buddha taught us – to keep doing good deeds as salt always tastes salty. Salt in water creates salty water, just as salt in soil creates salty soil. Those who keep doing good deeds will be respected and admired by others. The Buddha also gave another example of good deeds – the rhinos that guard their horn with their life. If anyone tries to take their horn, they will run away or fight until they die. They will not let others take their horn easily. Elephants are also good example; they protect their ivory with their life. In summary, the Buddha taught us to keep our goodness firmly.

.

Therefore, we should consider why the Buddha taught us to keep doing good deeds. If we do good deeds, we will be happy. Nothing else can make us happy. This is what the Buddha truly knew and he emphasized that we must 100% believe in our good deeds. If we do bad deeds, we will be in misery in this life, not to mention next life.

.

Immoral people do harm to others and bring chaos to the world. Disability, bribery, stealing, adultery that causes others suffer or die, all are rooted to the same thing – the uncontrolled mind. Those who do not take care of their minds let Kilesa control and drag them to do bad deeds. We have to seriously think about this. Most people want happiness and want money to bring them happiness. That misperception brings only short-term happiness and causes people to focus on external assets only. In fact, these assets only give them happiness in this life time or even in shorter time if they are robbed of. They do not think about internal assets which are merit and wholesome deeds. That’s why the wise ones including the Buddha seek both external and internal assets.

.

In the past when the Buddha was Bodhisattva who accumulated perfections which are the enlightenment factors, he knew the benefits of both external and internal assets. For external assets, he gave and shared with others. For internal assets, he morally behaved, spoke, and thought following the precepts. These acts made others like to associate with him and later became his supporters. That’s why he had great number of supporters. Therefore, we should keep our goodness. If we do not keep the goodness, there’s nothing else we can keep. Nothing is equal to goodness. And our mind can be good if we follow the Buddha’s teachings. As for now, we must concentrate to make our mind strong, courageous and peaceful. If our mind is weak, Kilesa will win and drag us to do what it wants.

………….

Compilation: Thonasit Sekorarit

Translator: Somchan Thongpussa

.

.

.

.

ที่มา : หนังสือ “ธรรมโอวาท หลวงปู่เหรียญ ๗” (หน้า ๑๒ – ๑๘ ) ที่ระลึกงานทอดกฐินสามัคคี วัดป่าพิชัยวัฒนมงคล อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ จัดพิมพ์โดย ชมรมกัลยณธรรม


bottom of page