top of page

“Cʟᴏsɪɴɢ ᴛʜᴇ Gᴀᴛᴇ ᴛᴏ ᴛʜᴇ Lᴏᴡᴇʀ Rᴇᴀʟᴍs”

Master Acharavadee Wongsakon


“การปิดอบายภูมิ คืออะไร...มีความสำคัญอย่างไร”

อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

(ภาษาไทยโปรดอ่านด้านล่าง)


The closure of gate to Apāyabhūmi refers to an attainment of the first stage of enlightenment called Sotapanna by the Path of Stream-Entry (Sotāpattimagga). It is a primary wish of Dhamma practitioners as most of them think that Nibbāna is far beyond their destiny. “To attain just Sotapanna” is a highly possible wish and is the wish of general virtuous people despite not practicing Dhamma. Some are trying shortcuts such as chanting, worshiping holy objects, or doing small good deeds but thinking of Sotapanna attainment. What is the correlation between Sotāpanna attainment and the closure of gate to Apāyabhūmi? Apāyabhūmi is the lowest realm where spirits can be reborn in four possible individualities: hell beings, hungry ghosts (Peta), angry demons (Asurakaya), and animal beings. Attaining the first stage of holiness or the Fruit of Sotapanna is a state of Dhamma wisdom that guarantees the rebirth after death will no longer be in the stages of misery and can be born as celestial beings or human beings. If being born as the human beings, one shall only be reborn not more than 7 lives in order to reach the enlightenment as Arahant. Therefore, the attainment of Sotapanna is called the closure of gate to the stages of misery.


How do the spirits obtain Apāyabhūmi realm? The important reason is caused by a strong intention to severely breach the precepts or even without strong intention, but constantly breaking precepts without realizing that this encroaches oneself and others. It is considered as ill-will leading to be born in the lowest realm. For example, the first precept breaching is the killing others due to very angry, or as a game, or without concerning how painful the life gets killed would be. As for second precept breaching, it is the stealing of both intangible and intellectual assets, intentionally cheating or planning to deceive without concerning others’ troubles.


On the third precept breaking, one commits adultery intentionally without thinking it is wrong and keep doing it again and again. The fourth precept breaking refers to those who tell lie in order to take advantage of others. The fifth precept breaking refers to those who get addicted to intoxication causing to loss of consciousness and subsequently leading to act coarsely and shamelessly. In addition, the results of doing unwholesome deeds such as not having right occupations and committing all sinful actions would lead one to the lowest realm. This is because the mind has accumulated such bad deeds making the mind’s weight heavy. When one dies from human realm, its mind would fall down to the hell to compensate ones’ Kamma. If not falling into the hell realm, one may be born as animal according to karmic wave determining which realm to be reborn.


The animal is a creature that has a heavy kamma. The karmic weight has suppressed its body so that it cannot be erected perpendicularly to the ground. Therefore, it becomes reptile or animal. This means the animal with horizontal torso would obstruct the world as well as the path to Nibbana.


If one keeps the five precepts perfectly in the past, one’s mind will not be afraid of falling into Apāyabhūmi at all. However, if one only keeps five precepts perfectly with the understanding that one would not fall into the lowest realm, it is probably not quite correct understanding because the old karmic deeds accumulated in mind has not been eradicated as if the karmic root remains still. This could cause the rebirth in a particular life, still in the cycle of rebirth, with a chance to fall into the lowest realm. Because karmic root, similar to the root of tree, is not eradicated yet. The seed of sin and unwholesomeness embedded in minds can grow at any time if one is careless of unwholesomeness again. To make perfect wholesome deeds, thus, comprises of Vipassana meditation to get rid of sins because it is powerful practice to burn bad karma and end a heap of defilements accumulated countless lives in the mental formation. The practice of Vipassana meditation therefore will result in not only lifting up the realm of the mind but also paving the way to Nibbana. The closure of gate to Apayabhumi is a matter of attainment in the mental level. It is not achieved through reading Dhamma books or doing relatively good deeds, then making such a guess of achievement. Using intellectual thinking to gauge how much good deeds made in order to attain Sotapanna is still far away from the objective. If, especially, precepts alone could not be observed perfectly, this is no need to think by oneself about Sotapanna attainment. Moreover, how many lives one has been reborn? How much sins and unwholesomeness has been accumulated? One should realize by oneself on what kind of deeds have been done in this life. There are some deeds that one can realize. How about countless deeds that one cannot realize? How could it possibly be to close the path of the lowest realm with little effort? Therefore, if one wishes to close the path to Apayabhumi and to attain Sotapanna, one must practice Vipassana meditation. If one gets persuaded to do all kind of things, such as chanting as much as one can, without practicing meditation for concentration and mindfulness and without observing precepts perfectly, that would make one to be able to close path to the lowest realm and to attain Nibbana automatically! The persuaded person must contemplate it carefully. How would any actions not in line with Buddha’s core teaching lead one to close the path to Apayabhumi or to reach Nibbana? Would there be anyone wiser than Buddha? Or one must contemplate it greatly. In the mundane world, would there be a small investment in share with high yield up to 30 – 93%? Finally, it is a fallacy causing the loss. In terms of Dhamma, it is not different though. There is often a deceptive persuasion of investment in doing small actions but advertising huge return in Nibbana. Wise persons should think carefully. Buddha teaches us to have faith with wisdom, not because somebody says it then we believe in it. As long as, we follow the core of Dhamma: restrain from unwholesome deeds, make complete wholesome deeds, and purify the mind by properly and seriously practicing within the principle framework (not just to sound nice by quoting the teaching), we will be better persons. We can observe precepts naturally and firmly. Our mind become delicate and wise in Dhamma, and detach from selfness. Those practices are good and are subject to a character (Carita) for which practice technique is suitable. The Carita is not an indicator if the practice technique is correct or not. However, it directly impacts the Dhamma advancement because the Carita is a mental familiarity that have been long accumulated. If the practicing technique is in line with one’s familiarity, such as Techo Vipassana is suitable for those who were worriers, and whose characters are direct and determined in the past, the Four Paths of Accomplishment (Iddhipada) will be easily developed: starting from will (Channa), exertion (Viriya), thoughtfulness (Citta), and examination (Vimangsa) of one’s practice against the four foundation of mindfulness; and will lead to Dhamma advancement. If the practice is not suitable for one’s familiarity, the will and the rest will be difficult to take place.


The Carita is directly linked to Iddhipada – Dhamma leading to accomplishment. The Sila is directly linked to the closure of gate to Apayabhumi.


In the mundane world, many types of insurance can be purchased. In the spiritual world, purchasing is not required but one must invest with heart. How and for what purpose do we dedicate our breath in the illusive world? At the end, what life reward do we obtain through mundane path? To strictly observe precepts, to cultivate Vipassana meditation, and to adhere our mind to morality is the excellent and effective way to insure our next life to higher realm and Nibbana ultimately.


Master Acharavadee Wongsakon

17 November 2019


Translator: Chotika Rujirachun, Supravee Veerapala, Patcharanan Laopimolpan, Wisuwat Sutthakorn

---------


การปิดอบายภูมิ คือการได้มรรคผลขั้นต้นเรียกว่า โสดาปัตติผล ได้ความเป็นโสดาบัน อันเป็นความปรารถนาเบื้องต้นของผู้ปฏิบัติธรรม เพราะพอกล่าวถึงการหวังได้มรรคผลนิพพาน ส่วนมากก็คิดว่ายังไกลเกินวาสนาของตน คำว่า “ขอให้ได้แค่โสดา” จึงเป็นความปรารถนาที่มีความเป็นไปได้สูง และเป็นความหวังของผู้ใฝ่ธรรมทั่วไปที่แม้จะไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็ตาม บ้างก็พยายามหาช่องทางลัดเช่น สวดมนต์ บูชาวัตถุมงคล หรือทำความดีเพียงเล็กน้อย ก็คิดไปถึงการจะได้โสดา

.

การได้โสดากับการปิดอบายภูมิ เกี่ยวพันกันยังไง?


อบายภูมิ คือภพภูมิที่ต่ำสุดของจิตวิญญาณที่จะไปจุติ ได้แก่ การได้อัตภาพเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ส่วนการได้โสดาหรือสำเร็จเป็นโสดาบัน คือสภาวะภูมิธรรมที่เป็นเครื่องประกันแน่นอนว่า เมื่อต้องไปเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ภพภูมิต่อ ๆ ไปจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย โดยจะไปจุติเป็นเทวดาก็ได้ หรือมาจุติในภูมิมนุษย์อีก ซึ่งหากมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเกิดในภูมินี้อีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะบรรลุอรหัตผล จึงเรียกการได้โสดาปัตติผลว่า เป็นการปิดอบายภูมิ


แล้วจิตวิญญาณได้อัตภาพอบายภูมิได้อย่างไร?


เหตุผลประการสำคัญ เกิดจากการมีเจตนาประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง หรือ แม้เจตนาไม่แรง แต่ประพฤติผิดศีลอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีความสำนึกว่าเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เข้าข่ายหน้ามืดตาบอด ก็ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิได้เช่นกัน เช่น ผู้ที่โกรธมาก ๆ แล้วหน้ามืดคว้าอาวุธไล่ฆ่าผู้อื่น หรือเห็นชีวิตของคนอื่นเป็นของเล่น เข่นฆ่าเป็นผักปลา โดยไม่คำนึงถึงความเจ็บปวดของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ


ในศีลข้อ 2 ก็เป็นผู้ที่ลักขโมย ทั้งทรัพย์สินที่จับต้องได้และทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งใจโกง ตั้งใจวางแผนล่อลวง โดยไม่สนความเดือดร้อนของผู้อื่น ในศีลข้อ 3 ก็เป็นผู้ที่มีเจตนาเป็นชู้ โดยไม่เห็นว่ามันจะผิดตรงไหนและทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ศีลข้อ 4 ผู้โกหกเพื่อแสวงหาประโยชน์ ศีลข้อ 5 คือผู้ดื่มน้ำเมาด้วยความเสพติด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ นำไปสู่การกระทำอันหยาบช้าและน่าละอาย นอกจากนี้ ผลจากการประกอบอกุศลกรรม เช่น การไม่ประกอบสัมมาอาชีวะ และการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปวง ก็ส่งผลให้ตกไปสู่อบายภูมิ เพราะจิตวิญญาณสะสมการกระทำเช่นนี้มากเข้า ทำให้จิตมีน้ำหนักหนัก ทำให้เมื่อตายจากภูมิมนุษย์แล้ว จิตออกจากร่างก็ดิ่งลงสู่ที่ต่ำคือนรกภูมิ ไปใช้กรรมที่ทำไว้อย่างเผ็ดร้อน หากน้ำหนักกรรมยังไม่ถึงขั้นลงนรก ก็อาจไปเกิดเป็นเปรต อสูรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน ตามกระแสคลื่นความถี่กรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ


สัตว์เดรัจฉาน คือสัตว์ที่กรรมหนักมาก น้ำหนักกรรมก็กดกายสังขารจนทำให้ไม่สามารถมีลำตัวตั้งฉากกับพื้นดินได้ จึงกลายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน หรือเดรัจฉานซึ่งแปลว่า สัตว์ที่มีลำตัวขวาง คือขวางทั้งโลก ขวางทั้งทางนิพพาน


หากในอดีตบุคคลรักษาศีลห้าไว้ได้ตลอดรอดฝั่ง จิตจะไม่กลัวการตกอบายภูมิเลย แต่หากจะมุ่งมั่นรักษาศีลห้าให้ได้ในชีวิตนี้แล้วหวังว่าจะไม่ตกอบายภูมิ ก็ยังไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องนัก เพราะแม้จะรักษาศีลห้าได้ในภพนี้ แต่กรรมเก่าดั้งเดิมที่สะสมไว้ยังไม่ได้ถูกชำระออกไป ก็ทำให้ยังมีรากกรรมที่สามารถทำให้ตกอบายภูมิได้ พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญการเจริญภาวนาว่า เป็นบุญกุศลที่สูงที่สุดในบรรดาบุญทั้งปวง เพราะแม้จะทำทานอย่างไร หรือเพียรรักษาศีลให้มั่น แต่เมื่อจิตยังมีรากของบาปและอกุศลอยู่ ก็ทำให้การมาเกิดในภพภูมิใดภพภูมิหนึ่ง ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ มีโอกาสพลาดพลั้งตกอบายภูมิได้ เพราะรากกรรมก็เหมือนรากไม้ที่ยังไม่ถูกทำลายลง บาปและอกุศลกรรมที่มีเชื้อฝังอยู่ในจิต ย่อมเติบใหญ่ได้ทุกเมื่อ หากบุคคลประมาทพลั้งเผลอในอกุศลธรรมอีก


การทำความดีให้ถึงพร้อม จึงต้องประกอบไปด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่มีพลังในการเผาชำระบาป ชำระกิเลสและกองสังขารเครื่องเศร้าหมอง ที่สะสมมาเป็นอสงไขยกัป ให้สิ้นลงได้ การปฏิบัติวิปัสสนาจึงเป็นการยกภพภูมิของจิตวิญญาณ และสามารถทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้


การปิดอบายเป็นเรื่องของการเข้าถึงในระดับจิตใจ ไม่ใช่นั่งอ่านหนังสือธรรมะหรือทำความดีพอประมาณ แล้วก็ทึกทักเอาเองด้วยการใช้ปัญญาสมองตรองเอาว่า ทำดีเพียงนี้น่าจะได้โสดาแล้ว หากคิดเช่นนั้น แสดงว่ายังไกลจากมรรคผลนัก และยิ่งหากเฉพาะแค่ข้อการรักษาศีลอย่างเดียวก็ไม่ผ่านแล้วก็ไม่ต้องไปคิดเอาเองว่าได้โสดาแล้ว อีกทั้งกี่ภพชาติที่เกิดมาจิตสะสมบาปและอกุศลกรรมไว้เท่าไหร่ เฉพาะในชีวิตนี้เคยทำอะไรไว้บ้างย่อมตระหนักรู้อยู่แก่ใจ ด้วยความเพียรอันเล็กน้อยแต่จะหวังผลเลิศขนาดปิดอบายภูมิ จะเป็นไปได้อย่างไร ดังนั้น หากอยากปิดอบายภูมิ ได้ความเป็นโสดาบัน จึงต้องปฏิบัติไปให้ถึงวิปัสสนากรรมฐาน


หากมีผู้ใดชักชวนบอกว่า ให้ไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น สวดมนต์เยอะ ๆ โดยไม่ต้องปฏิบัติภาวนา ไม่ต้องฝึกสมาธิให้จิตตั้งมั่น ไม่ต้องฝึกฝนความมีสติ และไม่ต้องห่วงเรื่องการรักษาศีลอย่างยิ่งยวด ทำแบบนี้แล้วจะปิดอบายไปจนถึงได้นิพพานได้เอง ผู้ถูกชักจูงต้องใช้ปัญญาตรองดูด้วยเหตุและผลว่า การทำในสิ่งที่ไม่ใช่แม่บทที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ จะทำให้ปิดอบายภูมิหรือถึงซึ่งนิพพานได้อย่างไร จะมีคนเก่งกว่าพระพุทธเจ้าขนาดนั้นเลยหรือ พึงใช้ปัญญาตรองให้มาก


ทางโลกก็มีแชร์ที่ลงทุนนิดเดียว แต่ประกาศว่าจะได้ดอกผลตั้งแต่ 30-93% สุดท้ายก็ถูกหลอกให้เสียหายมากมาย ในทางธรรมก็ไม่ต่างกัน มักมีการชักชวนให้ลงทุนด้วยกระทำการเพียงน้อยนิด แต่พูดไปถึงการได้รับผลอันยิ่งใหญ่ไปถึงนิพพาน ผู้มีปัญญาต้องไตร่ตรองให้มาก พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราศรัทธาอย่างมีปัญญา ไม่ใช่ศรัทธาเพราะเขาบอกมาว่าอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็เชื่อ ตราบใดที่เรายึดหัวใจคำสอน คือการไม่ทำบาปทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมสายใด หากการปฏิบัติตั้งอยู่ในกรอบนี้ และต้องมีหลักปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่ยกมาพูดให้ฟังดูเข้าท่า เมื่อปฏิบัติแล้วทำให้เป็นคนดีขึ้น สามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง จิตใจอ่อนโยนขึ้น เกิดปัญญาในธรรม และละวางความยึดมั่นถือมั่นได้ การปฏิบัตินั้น ๆ ก็ดีทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะถูกจริตกับการปฏิบัติสายไหน


"จริต" ไม่ใช่เครื่องตัดสินว่า หลักการปฏิบัตินั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จริต มีผลโดยตรงกับความก้าวหน้าในธรรม เพราะจริตคือความคุ้นเคยของจิตที่สะสมนิสัยมายาวนาน หากปฏิบัติในแนวทางที่ตนคุ้นเคย เช่น ในสายเตโชวิปัสสนา เป็นสายนักรบ ตรง เด็ดเดี่ยว ใครที่มีวิสัยเช่นนี้มาแต่กาลก่อน เมื่อปฏิบัติในสายนี้แล้วก็จะเกิดอิทธิบาท 4 คือ เกิดฉันทะ นำไปสู่ วิริยะ แล้วเกิดเป็นจิตตะ คือ จิตฝักใฝ่ นำไปสู่วิมังสา คือการไตร่ตรองพินิจพิจารณาการกระทำของตน เข้าไปสู่หลักสติปัฏฐานสี่ ก็จะทำให้มีความก้าวหน้าในธรรม แต่หากปฏิบัติในแนวทางที่ไม่ถูกจริต เมื่อไม่เกิดฉันทะเสียแล้ว ข้ออื่นๆ ก็ยากจะตามมา


จริตมีความเชื่อมโยงตรงตัวกับอิทธิบาท 4 อันเป็นธรรมสู่ความสำเร็จ


ศีล เกี่ยวข้องตรงตัวกับการตกอบายภูมิและการปิดอบายภูมิ


ทางโลกมีการซื้อประกันต่าง ๆ ทางธรรมไม่ต้องซื้อแต่ต้องลงทุนด้วยใจ เราเอาลมหายใจในชีวิตนี้ ทุ่มเทไปกับอะไรมากมายในโลกียวิถีนี้ สุดท้ายแล้ววิถีนี้มอบอะไรให้กับชีวิต การรักษาศีลอย่างยิ่งยวด การปฏิบัติวิปัสสนา และการยังจิตให้หนักแน่นมั่นคงในธรรม คือการทำประกันภัยในภพภูมิที่ได้ผลเลิศที่สุด เลิศสูงสุดไปจนถึงการหลุดพ้น ได้มรรคผลนิพพาน


อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

17 พฤศจิกายน 2019

bottom of page