top of page

บาปและบุญ Sin and Merit


ธรรมะจากพระอริยเจ้า: พระญานสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

.....................

คำว่าบุญ บาป ดี ชั่ว นั้น ท่านเปรียบเหมือนน้ำเหมือนไฟ น้ำ ถ้าใครบริโภค ดื่ม อาบ ใช้สอย น้ำก็ทำให้สุขกายสบายจิต ผู้ใดไม่รู้จักไฟว่าเป็นของร้อน เกิดไปเหยียบไฟเข้า ไฟก็ไหม้เท้าไหม้ตีนของตนได้ หรือว่าไฟนั้นแหละ ถ้าประมาทมันก็ไหม้บ้านเรือน ก่อให้เกิดความเสียหาย บางคนจนกระทั่งว่า เมื่อไฟเกิดไหม้บ้านเรือน กุฏิ วิหาร ที่อยู่อาศัยของตนแล้ว ตนเองก็ตายไปพร้อมกับกองไฟ

.

บาปและบุญนั้นมีอยู่ประจำโลก เหมือนกับน้ำและไฟนั้นแหละ ใครทำชั่วก็เดือดร้อน ใครทำดีก็มีความสุขกายสบายใจ พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ให้ใจอยู่ดี สบาย ใจภาวนา ใจระลึกอยู่ในบริกรรมภาวนาบทใดบทหนึ่ง มี พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้น หรือเรานึกอุบายใดก็ตาม

.

จิตนี้มันยังประมาทอยู่ ยังระลึกไม่ได้ ชอบคิดไปทางชั่ว ทางไม่ดี ชอบพูดไปในทางชั่ว ทางไม่ดี เมื่อพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว คิดไปแล้ว ก็เข้าใจว่าไม่มีทุกข์ไม่มีโทษ แต่แท้ที่จริง ไม่ว่าบุคคลทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว ตัวเองจะต้องได้รับผลกรรมอันนั้น

.

แต่ว่ากุศลกรรมนั้น พระองค์สอนให้ทำ ให้ประกอบให้เกิดให้มีขึ้น เหมือนเรานั่งสมาธิภาวนา หลับตา ทำใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ในใจ ละมลทินโทษทั้งหลายอันมีอยู่ในจิตใจให้ออกไป ยังจิตใจนี้ให้ผ่องใสสะอาด ตั้งมั่นเที่ยงตรงคงที่

.

การคิดชั่วในใจ แม้ตัวเองรู้แต่คนอื่นไม่รู้ก็ตาม กรรมที่คนเราทำนั้น ย่อมเป็นตัวเอง ทำกรรมชั่วพาตัวให้เดือดร้อน บุคคลที่เดือดร้อนด้วยกาย วาจา จิต ในมนุษย์โลกก็ตาม เทวโลกก็ตาม พรหมโลกก็ตาม ก็ย่อมเดือดร้อนเหมือน ๆ กันเพราะความชั่วทางกาย พูดชั่วทางวาจา คิดชั่วทางจิตทางใจ ทีนี้ถ้าทำดี คิดดี จิตใจมีเมตตาภาวนาอยู่เป็นนิจติดต่อกันไป กาย วาจา จิต มันเป็นบุญเป็นกุศล ทำอะไรก็เป็นบุญ พูดอะไรก็พูดในสิ่งที่เป็นบุญ บุญนี้ พระพุทธเจ้าสอนให้ประกอบ กระทำให้มากที่สุด ได้หลายที่สุดเป็นการดี เพราะว่าบุญกุศลนั้น เวลามันให้ผล มันเป็นที่ชื่นอกชื่นใจ ไม่เดือนร้อนวุ่นวาย

.

บาปนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ละ ไม่ว่าจะเป็นบาปทางใจ บาปทางวาจาคือคำพูด บาปทางกายคือการกระทำ ความชั่ว ความทุกข์ที่จะให้ผลเป็นทุกข์นั้น ท่านให้ละ เพราะเวลามันให้ผล มันเกิดแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งตัวเองและบุคคลอื่นด้วย

เวลาให้ผลเป็นทุกข์ ไม่มีใครต้องการปรารถนา แต่ว่ามันได้มาเอง เพราะว่าผลบาปแห่งการกระทำของตัวเอง

.

ในเวลาที่เราไหว้พระสวดมนต์ก็ดี นั่งสมาธิภาวนากรรมฐาน เราจะต้องตั้งอกตั้งใจประกอบการกระทำ นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ นึกถึงพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายเป็นอารมณ์ ทำไมท่านจึงบำเพ็ญสาวกบารมีได้ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบำเพ็ญบุญในทาน ศีล ภาวนา จนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นในโลก ท่านเอาอะไรทำ ก็เอาใจนั้นแหละ ใจพากายทำ ใจพาวาจาพูด ใจละความชั่วในจิตในใจ ละความชั่วทางวาจา ละความชั่วทางความประพฤติการกระทำ..

.

...เมื่อใจมีการละความชั่วอยู่ ความชั่วก็ไม่บังเกิดขึ้น เรียกว่าทำความดีขึ้นมาแทนที่...

.......................

เรียบเรียง: ธนสิทธิ์ เศขรฤทธิ์

.

ที่มาบทความ : หนังสือพระญานสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๑๒ หน้า ๕๐๑-๕๐๓ https://www.facebook.com/photo/?fbid=1108986362600456&set=a.1108498432649249


....................

Sin and Merit

Dhamma from Venerable Phra Yannasitthachan (Luang Pu Sim Buddhajaro)

…………...

The words “sin”, “merit”, “good” and “bad” can be represented as water and fire. Water has many uses such as for drinking and bathing which make us feel happy and refreshed. Those who don’t know fire, when they step on it will have their feet burned. And if they are careless of fire, they could burn houses down and even lose their lives in the flames.

.

Sin and merit always exist in this world just like water and fire. Those who commit evil deeds will be in trouble. Those who commit good deeds will be happy and feel comfortable. The Buddha taught us to have a good heart and meditate. While practicing meditation, set our intentions on a mantra, it could be “Buddho”, “Dhammo”, “Sangho’ or any other words.

.

Unfortunately, our minds are often in a state of carelessness and unknowing. Hence, we often have bad or evil thoughts, we then speak of the bad and evil. After we speak what we thought, we may understand that there is no pain or suffering follow. But actually, whatever we do, good or bad, we will one day receive the karmic result.

.

The Buddha taught us to practice good deeds. When we meditate, we close our eyes, let our minds be at peace, and remove all guilt. Then our minds will feel cleansed, bearing consciousness and firmness.

.

Even when we have evil thoughts and nobody else may know, still the bad karma will lead us to trouble. We would be afflicted by the evil deed, evil speech and evil thoughts even in this world or in heaven. On the other hand, if we constantly do good deeds with kindness through action, speech and thoughts, we will make good merits, which the Buddha taught us to accumulate as much as possible, as we will feel happy and delighted.

.

The Buddha taught us to live our lives free of sins. Whether they are committed through speech or actions, they only cause suffering to ourselves and others.

Nobody wants suffering, but it comes uninvited because it is the result of the sins we have committed.

.

Whenever we are about to chant or practice meditation, we should think about the Buddha and his disciples. How did the Buddha practice perfections, the precepts and meditation until he reached the enlightenment? And how did all his disciples follow his practices? They achieved it through their minds. Their minds were able to control their actions and words.

.

Once our minds are free from evil deeds, our speech and actions will be freed too. Then evil will no longer appear. Instead, goodness will come to take its place.

…………

Compiled by: Thonasit Sekorarit

Source: Luang Pu Sim Buddhajaro Book, under the Burapajarn Book Project, Volume 12 Page 501 - 503

…………

Translation: Yokfah Suchitcharoen

bottom of page