...
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2019 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรกองทัพบก จัดโดย เคบีโอ เอิร์ธ หน่วยงานพิเศษขององค์กรโนอิ้ง บุดด้า
ในงานได้รับเกียรติจากท่านรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ มาเป็นประธานในพิธี และอธิบดีกรมป่าไม้ คุณอรรถพล เจริญชันษา ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรรับเชิญท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ได้ขึ้นมาเป็นวิทยากรรับเชิญเช่นกัน ร่วมด้วย ดร.กนกรส ผลากรกุล คุณพีรพงษ์ เจียรนัย และ ร.อ.พิทักษ์ ตรีรณกุล งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับความสนใจเข้าร่วมฟังทั้งจากหน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชน และจากบุคคลทั่วไปเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงสื่อมวลชน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับฟังข้อมูลอีกมุมหนึ่งของอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลดาต้า ว่าเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะในหัวข้อการเป็นคลื่นไมโครเวฟที่ทำให้โมเลกุลของน้ำร้อนขึ้น จนก่อเกิดสภาวะอบอ้าว ผู้อำนวยการหน่วยงานกรมอุตุนิยมวิทยาก็กล่าวชื่นชมและสนับสนุนอยากให้ผู้เข้าฟังร่วมเผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปให้มากที่สุด เพื่อร่วมกอบกู้โลกร้อน อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกลได้กล่าวให้ข้อคิดเห็นที่สำคัญว่า ฝุ่น pm. 2.5 ที่กล่าวว่าเกิดจากการที่ลมไม่พัดตามปกติ แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากการที่มนุษย์สร้างสนามพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของอินเทอร์เน็ต ปกคลุมสนามพลังงานของเหล็ก ทำให้เกิดการดูดสสารพลังงานทั้งหยาบและละเอียดไว้ จนการพัดของลมแปรปรวน ยังไม่นับรวมกับปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมาจากการใช้อินเทอร์เน็ต ที่เป็นการไปรบกวนกระแสพลังงานของโลก เหมือนการทำลายเส้นเลือดของตัวเอง ดร.กนกรส ผลากรกุล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ทุกคน ไปจนถึงภัยจากพลาสติกและการสะสมตัวของดิจิทัลดาต้าในระดับสึนามิ และทิ้งท้ายด้วยการให้ทุกคนเชื่อมั่นในการช่วยกันเปลี่ยนแปลงโลก ที่กำลังอยู่ในภัยพิบัติโลกร้อน ในขณะที่คุณพีรพงษ์ เจียรนัยได้อธิบายให้ที่ประชุมได้รับฟังว่าอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไรและปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต ร.อ.พิทักษ์ ตรีรณกุล ได้มาเผยข้อมูลที่ไม่มีใครคาดถึงคือ คลื่นอินเตอร์เน็ตคือคลื่นไมโครเวฟแบบเดียวกับที่ใช้หุงต้มอาหาร จึงทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและโลกเหมือนกำลังอยู่ในเตาอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชวนสะพรึง
คุณอรรถพล เจริญชันษา ได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของต้นไม้และการปลูกป่า ว่าคือทางออกสุดท้าย ทั้งยังกล่าวถึงความเข้าใจผิดของคนว่าการใช้กระดาษเป็นการทำลายต้นไม้ แต่จริง ๆ ยิ่งใช้กระดาษยิ่งทำให้มีการปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้เป็นสิ่งปลูกทดแทนได้ แต่การไปทำลายภูเขาทำซีเมนต์เป็นสิ่งที่ทดแทนไม่ได้ ช่วงท้าย ท่านอาจารย์อัจฉราวดี ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงานต่อไปขององค์กร และร่วมฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
ในงานนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีมากในการรณรงค์ในระดับต่อไป เคบีโอ เอิร์ธ ได้เห็นผู้ที่มีเจตนารมณ์ในการช่วยลดโลกร้อนถือเป็นการได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนที่สำคัญมาก ขอขอบพระคุณคณะทำงานเคบีโอ เอิร์ธทุกท่าน ที่ช่วยทำให้งานนี้เกิดขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ และจะเกิดการรณรงค์สู่สังคมในทุกระดับ รวมถึงขอบพระคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้ เค บี โอ เอิร์ธและเข้าร่วมฟังงานสัมมนา
องค์กรโนอิ้ง บุดด้า 16 มิถุนายน 2562
.....
Photo Credited by 5,000’s Photography Team